บริการรับทำเว็บไซต์

ผลงานรับทำเว็บไซต์ชลบุรี

คำต้องห้ามในการลงโฆษณา Google Ads Facebook

สิ่งที่ควรรู้ก่อนทำการโฆษณา 

โฆษณาอย่างปลอดภัย ไม่ผิดกฎหมาย ไม่เสี่ยงโดนแบน

​สำหรับการให้บริการรับทำเว็บไซต์ ปัจจัยหลักในการทำเว็บคือเนื้อหาข้อมูลเว็บไซต์ ซึ่งข้อมูลที่ได้รับจากลูกค้า ทางทีมงานได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับความเหมาะสมในการใช้คำเพื่อโฆษณาในธุรกิจ เพื่อให้การโฆษณาของลูกค้าไม่ขัดต่อกฎหมาย สามารถทำการโฆษณาได้อย่างปลอดภัย ไม่ต้องกังวลเรื่องการโดนแบนจาก Google Ads หรือโดนแบนจาก Facebook


ทุกธุรกิจบริการ อาชีพต่างๆ ล้วนมีข้อมูลกฎหมายบังคับที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นก่อนที่คุณจะทำการโฆษณา ลงข้อมูลเนื้อหา ควรศึกษาข้อกำหนดทางกฎหมายในธุรกิจบริการให้ครอบคลุม ทีมงาน 2makeweb ได้ทำการรวบรวมข้อกฎหมาย ข้อห้าม คำต้องห้ามในการใช้ลงโฆษณา Google Ads Facebook หรือแม้แต่คำที่ห้ามใช้ตามข้อกฎหมายที่กำหนด เพื่อให้ได้ศึกษารายละเอียดให้ครบถ้วน ไม่ผิดกฎหมาย โฆษณาอย่างปลอดภัย ไม่เสี่ยงโดนแบน หรือหากคุณต้องการได้คำแนะนำในการทำเว็บไซต์ โปรโมทเว็บไซต์ หรือโปรโมทธุรกิจของคุณให้มืออาชีพอย่างเราให้คำแนะนำ เรายินดีให้คำแนะนำเพียงคุณติดต่อหาเรา

ธุรกิจอาหาร ยา อาหารเสริม 

1. คําที่ไม่อนญาตในการโฆษณาคุณภาพ คุณประโยชน์หรือสรรพคุณของอาหาร เช่น
- ศักดิ์สิทธิ์มหัศจรรย์ปาฏิหาริย์วิเศษ
- เลิศที่สุด ดีเลศิ ชนะเลิศ ชั้นเลิศ เลิศเลอ ล้ำเลิศ เลิศลํ้า
- ยอด ยอดเยี่ยม ยอดไปเลย เยี่ยมยอด เยี่ยมไปเลย สุดยอด
- ที่หนึ่ง หนึ่งเดียว ที่หนึ่งเลย
- ที่สุด ดีที่สุด ดีเด็ด สูงสุด
- เด็ดขาด หายห่วง หายขาด หมดกังวล
- สุดเหวี่ยง
- ไม่มีผลข้างเคียง ไร้ผลข้างเคียง
- อย. รับรอง ปลอดภัย
- เห็นผลเร็ว
2. ข้อความที่ไม่อนุญาตในการโฆษณาอาหาร รวมถึงการใช้ภาพที่สื่อให้เข้าใจได้ในความหมายเดียวกัน
2.1 ข้อความที่สื่อแสดงสรรพคุณอันทําให้เข้าใจว่าสามารถบําบัด บรรเทา รักษา ป้องกัน โรคหรืออาการ ของโรคหรือความเจ็บป่วย เช่น
- ลดโคเลสเตอรอล ลดความดันโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือด ลดระดับน้ําตาลในเลือด
- ป้องกันโรคหัวใจ โรคมะเร็ง เนื้องอก โรคเบาหวาน หลอดเลือดแข็งตัว ภูมิแพ้หอบหืด
- บรรเทาอาการปวดหัว ไมเกรน อาการชา บวมและเส้นเลือดขอด
- แก้ปัญหาปวดประจําเดือน ประจําเดือนมาไม่ปกติอาการตกขาว
- ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
- ป้องกันหรือต่อต้านเชื้อโรค เช่น เชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ไข้หวัด แบคทีเรีย เป็นต้น
- รักษาโรคติดเชื้อ
- เพิ่มความจํา แก้อาการหลงลืม ความจําเสื่อม รักษาโรคอัลไซเมอร์
- รักษาอาการซึมเศร้า นอนไม่หลับ
- รักษาโรคไวรัสตับอักเสบ ไขมันพอกตับ
- รักษาโรคไตเสื่อม นิ่วในไต
- รักษาโรคเกาต์รูมาตอยด์เอสแอลอี
- บรรเทาอาการข้ออักเสบ ข้อเข่าเสื่อม ปวดเข่า ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออักเสบ
- รักษาโรคต้อ วุ้นในตาเสื่อม กระจกตาเสื่อม จอประสาทตาเสื่อม ตาแห้ง เคืองตา แสบตา
- บรรเทาอาการหูอื้อ ฟื้นฟูการได้ยิน
- รักษาโรคริดสดวงทวาร ี กรดไหลย้อน
- รักษาโรคปอดอักเสบ วัณโรค หลอดลมอักเสบ ไอเรื้อรัง
- รักษาโรคผิวหนังอักเสบ สะเก็ดเงิน
2.2 ข้อความที่สื่อแสดงให้เข้าใจว่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกาย หน้าที่อวัยวะ หรือระบบการทํางานของร่างกาย เช่น
- ปรับสมดุลให้ร่างกาย ฟื้นฟูร่างกายหรืออวัยวะ
- เพิ่มน้ํานม กระตุ้นน้ํานม
- เพิ่มการไหลเวียนของเลือด
- บํารุงสมอง บํารุงประสาท บํารุงตับ บํารุงไต บํารุงสายตา หรือบํารุงอวัยวะของร่างกาย
- เสริมสร้างหรือกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย เพิ่มภูมิคุ้มกัน เพิ่มภูมิต้านทาน
- Detox/ ล้างสารพิษ ล้างลําไส้
- ปรับสายตาสั้น-ยาว ให้เป็นปกติ
- ขับน้ําคาวปลา ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ลดอาการวัยทอง ร้อนวูบวาบ
- กรอบหน้าชัดเหนียงหาย หน้ายก หน้าเรียว หนังตาตกเป็นตาสองชั้น รอยขมวดคิ้วหาย รองแก้มตื้น จมูกเข้ารูป
2.3 ข้อความที่สื่อแสดงให้เข้าใจว่ามีสรรพคุณบํารุงกาม บํารุงเพศ หรือเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์เช่น
- ช่วยบํารุงและเสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ เสริมสร้างศักยภาพทางเพศ
- เพิ่มสมรรถภาพท่านชาย/ หญิง เพิ่มความต้องการทางเพศชาย/ หญิง
- อาหารเสริมสําหรับชาย/ หญงิ
- เพิ่มฮอร์โมนเพศ
- เพิ่มประสิทธิภาพน้ําอสุจิให้แข็งแรง
- เพิ่มขนาดอวัยวะเพศ ช่วยให้อวัยวะเพศแข็งตัวได้นาน
- ลดอาการหลั่งเร็ว
- เพิ่มขนาดหน้าอก อัพไซส์
- กระชับช่องคลอด
- ปลุกความเป็นชาย ปลุกเซ็กส์อึด ถึก ทน ปลุกไวฟื้นง่าย
- กระตุ้นความเป็นหญิง
- คืนความเป็นหนุ่ม คืนความสาว
2.4 ข้อความที่สื่อแสดงให้เข้าใจว่ามีสรรพคุณเพื่อบํารุงผิวพรรณและความสวยงาม เช่น
- ลดริ้วรอยเหี่ยวย่น ลดสิว ฝ้า กระ จุดด่างดํา
- ผิวขาว กระจ่าง ใส นุ่ม เด้ง เปล่งปลั่ง ออร่า
- กระชับรูขุมขน/ ฟื้นฟูผิว
- ลดริ้วรอย/ ลดความมันบนใบหน้า
- ยกกระชับผิวหน้า
- ชะลอความแก่ดูอ่อนกว่าวัย
- แก้ผมร่วง ผมหงอก
- ช่วยให้ผมและเล็บแข็งแรง
- กันแดด ท้าแดด
- ช่วยดับกลิ่นตัว กลิ่นปาก
2.5 ข้อความที่สื่อแสดงให้เข้าใจว่ามีสรรพคุณในการลดน้ําหนัก ลดความอ้วนหรือข้อความอื่นใดในทํานองเดียวกัน เช่น
- ลดความอ้วน
- ช่วยให้ระบายท้อง
- สลายไขมันที่สะสมในร่างกาย ดักจับไขมัน ลดไขมันส่วนเกิน
- ลดน้ําหนัก
- Block/ Burn/ Build /Break/ Firm
- การใช้ภาพสายวัด/ เครื่องชั่งน้ําหนัก/ กางเกง Over Size
- ภาพ Before/ After
- Weight Loss
- เพรียว สลิม Slim Slen
- ไม่โยโย่
- กระชับสัดส่วน ลดต้นแขน ลดต้นขา ลดหน้าท้อง พุงหาย ช่วยให้แขนขาเรียว
- หุ่นดีหุ่นสวย หุ่นเป๊ะ
- ผอม ผอมเร่งด่วน ลดน้ําหนักถาวร
- ลดยาก/ ดื้อยา/ ลดความอยากอาหาร 

หลักเกณฑ์การโฆษณาอาหาร 2564

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์การโฆษณาอาหาร 2564
ที่มา http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/073/T_0014.PDF

ธุรกิจขายอาหาร ยา อาหารเสริม 

 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2546) เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการโฆษณาสถานพยาบาล ซึ่งออกตามมาตรา 38 พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ที่กำหนดว่า ห้ามโฆษณาหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาด้วยถ้อยคำที่เป็นเท็จหรือโอ้อวด โดยใช้บังคับกับสถานพยาบาลที่ไม่ใช่สังกัดของหน่วยงานราชการ ประกาศดังกล่าว กำหนด 18 ข้อห้ามโฆษณาสถานพยาบาลในลักษณะ ดังนี้ 
1. ห้ามใช้ข้อความอันเป็นเท็จ หรือข้อความที่ไม่มีมูลความจริงทั้งหมดหรือบางส่วน หรือมีลักษณะหลอกลวงหรือปกปิดความจริงหรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นจริง 
2. การใช้ข้อความทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่ามีบุคลากร เครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์แต่กลับไม่มีให้บริการ 
3. การใช้สถาบัน หน่วยงาน องค์กร หรือบุคคล ที่ไม่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานรัฐ 
4. การโฆษณาบริการโรคที่ไม่มีอยู่ในสาขาที่ผู้ประกอบวิชาชีพมีหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตร 
5. การอ้างอิงรายงานวิชาการ ผลงานวิจัย สถิติ โดยข้อมูลที่อ้างอิงไม่ใช่ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
6. การใช้ข้อความหรือรูปภาพ โอ้อวดเกินจริงหรือข้อความที่กล่าวอ้างหรือบ่งบอกว่าของตนดีกว่า เหนือกว่า ดีที่สุด รายแรก แห่งแรก รับรองผล 100% หรือการเปรียบเทียบหรือข้อความที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าการบริการของสถานพยาบาลแห่งนั้นมีคุณภาพที่ดีกว่า เหนือกว่าหรือสูงกว่าที่อื่น 
7. การโฆษณากิจการสถานพยาบาลหรือการโฆษณาความรู้ความสามารถความเชี่ยวชาญในการรักษาพยาบาลคุณภาพหรือประสิทธิผล สรรพคุณ กรรมวิธีหรือเปรียบเทียบผลก่อน - หลังในทำนองให้เข้าใจผิด 
8. การใช้ชื่อสถานพยาบาลหรือข้อความที่ทำให้เข้าใจว่ามีการประกอบกิจการที่ไม่ตรงกับการรับอนุญาต 
9. การโฆษณาสถานที่ซึ่งไม่ใช่เป็นของสถานพยาบาล 
10. การโฆษณาด้วยวิธีการอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ร่างกายหรือจิตใจหรือก่อให้เกิดความรำคาญแก่ประชาชน
11. การใช้ภาพหรือเสียงที่ไม่เหมาะสมสร้างความหวาดกลัว หรือมีลักษณะเป็นการส่อไปในทางลามกอนาจาร กระตุ้นหรือยั่วยุทางกามารมณ์ 
12. การใช้ภาพหรือเสียงโดยไม่สุภาพหรือแสดงอาการทุกข์ทรมานของผู้ป่วย 
13. การให้ร้าย เสียดสี หรือทับถมสถานพยาบาลหรือผู้ประกอบวิชาชีพอื่น 
14. ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม 
15. การโฆษณาที่รวมอยู่กับข้อความถวายพระพร หรือข้อความอย่างอื่นที่อ้างอิงเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เว้นแต่ชื่อของสถานพยาบาลหรือผู้ประพันธ์บทความดังกล่าว 
16. การโฆษณาการให้บริการฟรี
17. การโฆษณาที่จัดให้มีการแถม แลกเปลี่ยน ให้สิทธิประโยชน์ รางวัล หรือการเสี่ยงโชค จากการรับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาล 
18. ห้ามการให้ส่วนลดค่าบริการหรือค่ารักษาพยาบาล เว้นแต่ลดเพื่อการอนุเคราะห์บุคคลด้อยโอกาส ลดต่อสมาชิกกลุ่มบุคคลหรือสถาบันหรือองค์กรเป็นการแจ้งให้ทราบเฉพาะกลุ่มเท่านั้น 

หลักเกณฑ์การโฆษณาอาหาร 2564

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์การโฆษณาอาหาร 2564
ที่มา http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/073/T_0014.PDF

คำห้ามใช้ในการโฆษณา แพทยสภา

​ประกาศแพทยสภา 50/2546

 ประกาศแพทยสภา ที่ 50/2549 เรื่อง คำที่ห้ามใช้ในการโฆษณา ออกบังคับใช้กับแพทย์ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 กำหนดคำที่ห้ามแพทย์ใช้ในการโฆษณา 15 คำเบื้องต้น ดังนี้ 
1. คำว่า เพียง เช่น เพียง 4,000 บาท ต่อ ครั้ง 
2. คำว่า เท่านั้น เช่น รักษาครั้งละ 500 บาท เท่านั้น 
3. คำว่า พิเศษ เช่น พิเศษสำหรับสมาชิกบัตรเครดิต ค่ารักษา
4. คำว่า เฉพาะ เช่น ราคานี้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น 
5. คำว่า ล้ำสมัย หรือ เช่น ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย แห่งเดียว/แห่งแรกในประเทศไทย 
 6. คำว่า นำสมัย เช่น อุปกรณ์ที่นำสมัยในการให้การรักษา 
7. คำว่า ราคาเดิม เช่น เสริมจมูก ตกแต่งใบหน้า 3,000 บาท จากราคาเดิม 4,000 บาท
8. คำว่า ครบวงจร เช่น โดยทางศูนย์ให้บริการแบบครบวงจร การแสดงราคาเปรียบเทียบ เช่น จากเดิม 6,000 บาท เหลือ 4,000 บาท หรือการแสดงราคาเปรียบเทียบกับโรงพยาบาลอื่น เช่น โรงพยาบาล น. ราคาโปรแกรมตรวจสุขภาพ ราคา 3,000 บาท แต่โรงพยาบาล ร.โปรแกรมตรวจสุขภาพ ราคา 2,000 บาท การใช้คำว่า ปกติ กับ เหลือ เช่น ปกติ ราคา 500 บาท จองวันนี้ เหลือ 300 บาท โดยสิทธิ์นี้ใช้ได้ จนถึงสิ้นเดือน 
 9. คำว่า ฟรี เช่น จองวันนี้แถมฟรี ตรวจความดันปัสสาวะ ฯลฯ .
10. คำว่า สวยจริง จริงบอกต่อ 
11. คำว่า อยากสวย สวยที่ 
12. คำว่า งดงามที่... มีเสน่ห์ที่... 
13. คำว่า สวยเหมือนธรรมชาติที่...
14. คำว่า เหนือกว่า / สูงกว่า 
15. คำว่า โรค...รักษาได้ (ต้องมีข้อมูลทางวิชาการ 80% ขึ้นไป ว่าโรคดังกล่าวสามารถรักษาหายได้) 

ประกาศแพทยสภา คำที่ห้ามใช้ในการโฆษณา (ฉบับล่าสุด)

ประกาศแพทยสภา ที่ ๕๐/๒๕๔๙ เรื่อง คำที่ห้ามใช้ในการโฆษณา (ฉบับล่าสุด)
ที่มา https://www.tmc.or.th/download/50_49.pdf

คู่มือการพิจารณาอนุมัติการโฆษณาสถานพยาบาล


กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

คู่มือการปฏิบัติงานการพิจารณาอนุมัติการโฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบา
ที่มา https://hss.moph.go.th/fileupload_doc/2019-02-01-1-19-49261809.pdf

​​ทุกธุรกิจบริการ อาชีพต่างๆ ล้วนมีข้อมูลกฎหมายบังคับที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นก่อนที่เราจะทำการโฆษณา ลงข้อมูลเนื้อหา ควรศึกษาข้อกำหนดทางกฎหมายในธุรกิจบริการให้ครอบคลุม